สารกำหนดปริมาณและร้อยละของผลไม้ของสารผลิตภัณฑ์
สารกำหนดปริมาณ (Limiting
Reagent)
สารที่เข้าทำปฏิกิริยามีปริมาณไม่พอดีกัน
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดเมื่อสารใดสารหนึ่งหมด
สาร
ที่หมดก่อนจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า
สารกำหนดปริมาณ (Limiting Reagent)
สารกำหนดปริมาณในการเกิดปฏิกิริยาเป็นการคำนวณสารจากสมการของปฏิกิริยาที่โจทย์บอกข้อมูลเกี่ยวกับสารตั้งต้นมาให้มากกว่าหนึ่งชนิด
ลักษณะโจทย์มี 2 แบบ คือ
1.
โจทย์บอกข้อมูลของสารตั้งต้นมาให้มากกว่าหนึ่งชนิด
แต่ไม่บอกข้อมูลเกี่ยวกับสารผลิตภัณฑ์
ในการคำนวณต้องพิจารณา
ว่าสารใดถูกใช้ทำปฏิกิริยาหมด
แล้วจึงใช้สารนั้นเป็นหลักในการคำนวณสิ่งที่ต้องการจากสมการได้
2.
โจทย์บอกข้อมูลของสารตั้งต้นมาให้มากกว่าหนึ่งชนิด
และบอกข้อมูลของสารผลิตภัณฑ์ชนิด
ใดชนิดหนึ่งมาให้ด้วย
ในการคำนวณให้ใช้ข้อมูลจากสารผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์ในการเทียบหาสิ่งที่ต้องการจากสมการเคมี
ร้อยละของผลได้ของสารผลิตภัณฑ์
ในการคำนวณหาปริมาณของผลิตภัณฑ์จากสมการเคมีนั้น
ค่าที่ได้เรียกว่า ผลได้ตามทฤษฎี (Theoretical yield)
แต่ในทางปฏิบัติจะได้ผลิตภัณฑ์น้อยกว่าตามทฤษฎี
แต่จะได้มากหรือน้อยแค่ไหน
ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการและสารเคมีที่ใช้
เรียกผลที่ได้ว่านี้ ผลได้จริง (Actual yield)
สำหรับการรายงานผล การทดลองนั้น
จะเปรียบเทียบค่าที่ได้ตามทฤษฎีในรูปร้อยละ
ซึ่งจะได้ความสัมพันธ์ดังนี้
การหาสูตรโมเลกุลของก๊าชและการหาร้อยละโดยมวลของธาตุจากสูตรเคมี
การหาสูตรโมเลกุลของก๊าซ
มีหลักการดังนี้
1.
สารทุกชนิดที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเป็นก๊าซหมด
และสารที่จะหาสูตรโมเลกุลจะต้องเป็นก๊าซหรือไอเท่านั้น
2.
สมมติสูตรโมเลกุลของก๊าซที่จะหาสูตรโดยทราบว่าประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
3. ต้องทราบปริมาตรของก๊าซต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกันในปฏิกิริยา
และปริมาตรของก๊าซต้องวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
4. หาอัตราส่วนโดยปริมาตรก๊าซต่าง ๆ
เป็นอย่างต่ำ
5.
เปลี่ยนอัตราส่วนโดยปริมาตรของก๊าซเป็นอัตราส่วนโดยโมล
โดยใช้กฎอาโวกาโดร
6. เขียนสมการของปฏิกิริยาเคมีตามโจทย์บอก
แล้วเข้าสมการพีชคณิตของจำนวนอะตอมทั้งหมด
ทางซ้าย และทางขวาของแต่ละธาตุให้เท่ากัน
จะได้สมการพีชคณิตหลายสมการที่มีตัวแปรหลายตัว
จากนั้นก็คำนวณหาสูตรโมเลกุลของก๊าซได้
มวลของสารในปฏิกริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงของสารในปฏิกิริยาใดๆ
ต้องมีการกำหนดขอบเขตการศึกษา
ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ
ส่วนที่อยู่ภายในขอบเขตของการศึกษาซึ่งรวมทั้งก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า
ระบบ
กับส่วนที่อยู่นอกขอบเขตที่ศึกษา
เช่นภาชนะ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือวัดต่างๆเรียกว่า สิ่งแวดล้อม เช่น
การทำน้ำให้เป็นน้ำแข็ง
ระบบก่อนการเปลี่ยนแปลงคือน้ำ
และระบบหลังการเปลี่ยนแปลงคือน้ำแข็ง
ส่วนสิ่งแวดล้อมก็คือภาชนะ ระบบมีอยู่ 2
ระบบดังนี้
1. ระบบปิด คือ
ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
2. ระบบเปิด คือ
ระบบที่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารจำเป็นต้องระบุสมบัติต่างๆ
ของระบบ เช่น มวล อุณหภูมิ ปริมาตร ความดัน
ถ้าตรวจสอบได้ว่าสมบัติใดของระบบมีการเปลี่ยนแปลงก็ถือได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบ
สมบัติของสารและปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของระบบเรียกว่า
ภาวะของระบบ
ในปี พ.ศ. 2317 อองตวน-โลรอง ลาวัวซิเอ
ได้ทดลองเผาสารในหลอดที่ปิดสนิทพบว่า
มวลรวมของสารก่อนเกิดปฏิกิริยา
เท่ากับมวลรวมของสารหลังทำปฏิกิริยา
จึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎทรงมวล
โจเชฟ เพราสต์
ได้ศึกษาการเตรียมสารประกอบบางชนิด
พบว่าสารประกอบชนิดหนึ่งที่เตรียมด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบหนึ่ง
ๆ จะมีค่าคงที่
จึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎสัดส่วนคงที่
ตัวอย่างเช่น สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ ( CuS )
ที่เกิดจากการรวมตัวของทองแดงและกำมะถันจะมีอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ
2:1 เสมอ
การหามวลโมเลกุลของสาร
โมเลกุลของธาตุประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน
เช่น
โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนประกอบด้วยธาตุออกซิเจน
2 อะตอม
ส่วนโมเลกุลของสารประกอบที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกันเช่น
โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 1
อะตอมและธาตุออกซิเจน 2 อะตอม
ในกรณีที่ไม่ทราบชนิดและจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของสาร
แต่ทราบมวลเป็นกรัมของสาร 1 โมเลกุล
จะหามวลโมเลกุลของสารได้จากความสัมพันธ์ดังนี้
1.
ใช้การเปรียบเทียบเช่นเดียวกับการหามวลอะตอม
2.
คิดจากผลบวกของอะตอมของธาตุต่าง ๆ
ที่เป็นองค์ประกอบใน 1
โมเลกุลของสารนั้น
มวลโมเลกุล H2O = (2x1) 16 = 18
มวลโมเลกุล CuSO4 * 5H2O = 63.5 + 32 + (4x16) +
(5x18) = 249.5